วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

สมบัติการคูณจำนวนเต็ม

การคูณ หมายถึง การบวกจำนวนครั้งละเท่าๆ กัน ผลรวมทั้งหมดเรียก
ว่า ผลคูณหรือผลลัพธ์ โดยใช้ลักษณ์ x แทนการคูณ
มีดอกไม้ 5กำ กำละ 4 ดอก มีดอกทั้งหมดกี่ดอก
มีดอกไม้ทั้งหมด 4 4 4 4 4=20 ดอก
4 4 4 4 4 เขียนในรูปของการคูณดังนี้ 5 x 4 นั่นคือ 4 4 4 4 4 =x 4

สมบัติการคูณ
1. สมบัติปิด

ถ้า a และ b เป็นจำนวนเต็มบวกใด ๆ แล้ว a x b เป็นจำนวนเต็มบวก
ตัวอย่าง     3 x 7  =  21   เป็นจำนวนเต็มบวก        
2. สมบัติการสลับที่
ถ้า a และ b เป็นจำนวนเต็มบวกใด ๆ แล้ว a x b = b x a  
ตัวอย่าง           4 x 8   =   8 x 4   =   32   
25 x 10 = 10 x 25 = 250
3. สมบัติการเปลี่ยนกลุ่มได้
  ถ้า a,b และc เป็นจำนวนใดๆ แล้ว a x (b x c) = (a x c) 
                               ตัวอย่าง(8 x 6) x 4 = 48 x 4   = 192 
                                             8 x (6 x 4)= 8 x 24   = 192 

4. สมบัติการแจกแจง
ถ้า a , b และ c เป็นจำนวนใด ๆ แล้ว
a x (b + c) = (a x b) + (a x c)           
(b + c) x a = (b x a) + (b x c)           
ตัวอย่างที่ 7      3x (5+6)   =  (3 x 5 ) + ( 3 x 6 )  =  33


         วัน พุธที่ 21 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2556




หน่วยการวัดพื้นที่ที่สำคัญ ที่ควรรู้จัก


หน่วยการวัดพื้นที่ในระบบเมตริก
                1              ตารางเซนติเมตร                 เท่ากับ    100         หรือ        102           ตารางมิลลิเมตร
                1              ตารางเมตร                        เท่ากับ    10,000   หรือ        104           ตารางเซนติเมตร
                1              ตารางกิโลเมตร                   เท่ากับ    1,000,000 หรือ    106           ตารางเซนติเมตร

หน่วยการวัดพื้นที่ในระบบอังกฤษ
                1              ตารางฟุต                           เท่ากับ    144         หรือ        122           ตารางนิ้ว
                1              ตารางหลา                          เท่ากับ    9              หรือ        32            ตารางนิ้ว
                1              เอเคอร์                              เท่ากับ    4, 840     ตารางหลา
                1              ตารางไมล์                          เท่ากับ    640         เอเคอร์
หรือ           1              ตารางไมล์                         เท่ากับ    1, 7602       ตารางหลา


หน่วยการวัดพื้นที่ในมาตราไทย
                100         ตารางวา                              เท่ากับ    1              งาน
                4              งาน                                  เท่ากับ    1              ไร่
หรือ        400         ตารางวา                                เท่ากับ    1              ไร่

หน่วยการวัดพื้นที่ในมาตราไทยเทียบกับระบบเมตริก
                1              ตารางวา                            เท่ากับ    4              ตารางเมตร
                1              งาน                                  เท่ากับ    400         ตารางเมตร
หรือ           1              ไร่                                   เท่ากับ    1, 600     ตารางเมตร
                1              ตารางกิโลเมตร                   เท่ากับ    625         ไร่

หน่วยการวัดพื้นที่ในระบบอังกฤษกับระบบเมตริก ( โดยประมาณ )
                1              ตารางนิ้ว                           เท่ากับ    6.4516   ตารางเซนติเมตร
                1              ตารางฟุต                          เท่ากับ    0.0929   ตารางเมตร
                1              ตารางหลา                         เท่ากับ    0.8361   ตารางเมตร
                1              เอเคอร์                              เท่ากับ    4046.856 ตารางเมตร ( 2. 529 ไร่ )
                1              ตารางไมล์                          เท่ากับ    2.5899   ตารางกิโลเมตร


ที่มา : http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/20429/
วันพุธที่ 21 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2556



ความน่าจะเป็น (Probability)

ความน่าจะเป็น
ความน่าจะเป็น คือ ค่าที่ใช้ประเมินสถานการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น โดยพิจารณาว่า เมื่อถึงเวลาเกิดเหตุการณ์แล้ว จะเกิดในลักษณะใด มีโอกาสที่จะเกิดมากน้อยเพียงใด การหาค่าความน่าจะเป็น จะต้องหาจากการทดลองสุ่มเท่านั้น แซมเปิลสเปซ (Sample Space )
แซมเปิลสเปซ คือเซตของเหตุการณ์ทั้งหมดจากการทดลอง (Universal Set) เช่น การโยนลูกเต๋าถ้าต้องการดูว่าหน้าอะไรจะขึ้นมาจะได้ S = { 1, 2, 3, 4, 5, 6 }
แซมเปิลพ้อยท์ (Sample Point)
แซมเปิลพ้อยท์ (Sample Point) คือ สมาชิกของแซมเปิลสเปซ (Sample Space ) เช่น S = { 1, 2, 3, 4, 5, 6 } จะได้แซมเปิลพ้อยท์คือ 1 ถึง 6
เหตุการณ์ (Event)
เหตุการณ์ คือ เซตที่เป็นสับเซตของ Sample Space เป็นเหตุการณ์ที่เราสนใจ จากการทดลองสุ่ม
การทดลองสุ่ม (Random Experiment)
การทดลองสุ่มคือ การกระทำที่เราทราบว่าผลทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง แต่ไม่สามารถบอกได้อย่างถูกต้องแน่นอนว่าจะเกิดผลอะไรจากผลทั้งหมดที่เป็นไปได้เหล่านั้น
การหาค่าความน่าจะเป็น
ให้ S เป็นแซมเปิลสเปซ ที่ซึ่ง มีเหตุการณ์ทั้งหมดที่เป็นไปได้คือ n(S) และ E เป็นเหตุการณ์ที่เราสนใจ ซึ่ง E ฬS ให้ P(E) เป็นค่าน่าจะเป็นที่จะเกิดโอกาส E

การทดลองสุ่ม คือการทดลองที่ผลลัพธ์อาจจะเกิดขึ้นได้แตกต่างกันหลายอย่าง
แต่เราไม่ทราบว่าผลลัพธ์ใดจะเกิดขึ้น
ตัวอย่างที่ 4.1
1. การโยนเหรียญขึ้นไปในอากาศ ถือว่าเป็นการทดลองสุ่ม เพราะเรายังไม่ทราบว่าเหรียญจะหงายหัวหรือก้อย
2. การทอดลูกเต๋าลงในถ้วย ถือว่าเป็นการทดลองสุ่ม เพราะเรายังไม่ทราบว่าลูกเต๋า
หงายหน้าอะไร

3. การหยิบไพ่หนึ่งใบจากไพ่สำรับหนึ่ง ถือว่าเป็นการทดลองสุ่ม เพราะเรายังไม่ทราบว่าจะได้ไพ่ใด
4. การวิ่งแข่งขัน ถือว่าเป็นการทดลองสุ่ม เพราะแต่ละคนมีโอกาสชนะแต่เราไม่ทราบว่าเป็นใคร


แซมเปิลสเปซ(Sample Space) คือเซตของผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งหมดจากการทดลองสุ่ม
และเป็นสิ่งที่เราสนใจ
เรานิยมใช้สัญลักษณ์ S แทนแซมเปิลสเปซ
จากความหมายของแซมเปิลสเปซ แสดงว่า ในการทดลองหรือการกระทำใด ๆ ก็ตาม
ผลลัพธ์ที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นได้ต้องเป็นสมาชิกในแซมเปิลสเปซทั้งสิ้น
ตัวอย่างที่ 4.2การหาแซมเปิลสเปซในการโดยเหรียญ 1 เหรียญ ถ้าเราสนใจหน้าที่หงายขึ้น
ผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้คือ หัว หรือ ก้อย
ดังนั้นแซมเปิลสเปซที่ได้ คือ S={หัว, ก้อย}
ตัวอย่างที่ 4.3 ในการทอดลูกเต๋า 1 ลูก ถ้าเราสนใจแต้ม ของลูกเต๋าที่หงายขึ้น
ผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้คือ ลูกเต๋าขึ้นแต้ม 1 หรือ 2 หรือ 3 หรือ 4 หรือ 5 หรือ 6
ดังนั้นแซมเปิลสเปซที่ได้คือS = {1, 2,3,4,5,6}
ตัวอย่างที่ 4.4จากการทดลองสุ่มโดยการทดลองทอดลูกเต๋า 2 ลูก
1. จงหาแซมเปิลสเปซของแต้มของลูกเต๋าที่หงายขึ้น
2. จงหาแซมเปิลสเปซของผลรวมของแต้มบนลูกเต๋า
วิธีทำ 1. เนื่องจากโจทย์สนใจแต้มของลูกเต๋าที่หงายขึ้น
ดังนั้นเราต้องเขียนแต้มของลูกเต๋าที่มีโอกาสที่จะหงายขึ้นมาทั้งหมด
และเพื่อความสะดวกให้ (a,b) แทนผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้น โดยที่
a แทนแต้มที่หงายขึ้นของลูกเต๋าลูกแรก
b แทนแต้มที่หงายขึ้นของลูกเต๋าลูกที่สอง
ดังนั้นแซมเปิลสเปซของการทดลองสุ่มคือ
S={(1,1),(1,2),(1,3),(1,4),(1,5),(1,6),
(2,1),(2,2),(2,3),(2,4),(2,5),(2,6),
(3,1),(3,2),(3,3),(3,4),(3,5),(3,6),
(4,1),(4,2),(4,3),(4,4),(4,5),(4,6),
(5,1),(5,2),(5,3),(5,4),(5,5),(5,6),
(6,1),(6,2),(6,3),(6,4),(6,5),(6,6)}
2.เนื่องจากโจทย์สนใจผลรวมของแต้มบนลูกเต๋า
ดังนั้นเราต้องเขียนผลรวมของแต้มบนลูกเต๋าที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ทั้งหมด
จะได้แซมเปิลสเปซของผลรวมของแต้มบนลูกเต๋าทั้ง 2 ลูก คือ
{2,3,4,5,6,7,8,9,10,11,12}
ตัวอย่างที่ 4.5ในกล่องใบหนึ่งมีลูกบอลสีแดง 2 ลูก สีขาว 1 ลูก ถ้าเราหยิบลูกบอลออกจากกล่องมา 1 ลูก โดยวิธีสุ่ม
1. จงหาแซมเปิลสเปซของสีของลูกบอลที่จะเกิดขึ้น
2. จงหาแซมเปิลสเปซของลูกบอลที่หยิบออกมาได้
วิธีทำ 1.เนื่องจากโจทย์สนใจสีของลูกบอลที่จะหยิบมาได้
ดังนั้นแซมเปิลสเปซของสีของลูกบอลที่หยิบได้คือ
S={สีแดง,สีขาว}
2.เนื่องจากโจทย์สนใจลูกบอลที่จะหยิบมาได้ ซึ่งมีทั้งหมด 3 ลูก
สมมติให้เป็น แดง1 แดง2 ขาว1
ดังนั้นแซมเปลิสเปซของลูกบอลที่หยิบออกมาคือ
S = {แดง1,แดง2, ขาว1}
เหตุการณ์(event) คือสับเซตของแซมเปิลสเปซ
เรานิยมใช้ A, B, C, D, E, ... เป็นสัญลักษณ์แทน เหตุการณ์
ข้อควรสนใจ เนื่องจากเหตุการณ์เป็นสับเซตของแซมเปิลสเปซ
ดังนั้น เซตว่าง ก็คือ เหตุการณ์ ๆ หนึ่ง เช่นเดียวกัน
ตัวอย่างที่ 4.6 มีบัตรอยู่ 10 ใบซึ่งแต่ละใบมีหมายเลข 1,2,3,4, 5,6,7,8,9,10 ตามลำดับ
สุ่มหยิบบัตรมา 2 ใบพร้อมกันจงหาเหตุการณ์ที่ผลรวมของหมายเลขบนบัตรทั้ง 2 ใบเป็นจำนวนคู่
วิธีทำ คำว่าสุ่มหยิบบัตรมา 2 ใบ หมายถึง หยิบโดยไม่ดู หรือไม่เห็นว่าแต่ละใบหมายเลขอะไร
ซึ่งลักษณะการหยิบโดยสุ่มแบบนี้ เราถือว่าเป็นการทดลองสุ่มเพราะเราไม่ทราบผลลัพธ์ล่วงหน้า
เนื่องจากโจทย์ต้องการให้หาผลรวมของหมายเลขบนบัตร
ดังนั้นแซมเปิลสเปซก็ต้องประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นผลรวมของหมายเลขบนบัตรทั้ง 2 ใบ
ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งหมด นักเรียนจะพบว่าผลรวมของหมายเลขจะมีค่าน้อยที่สุดเมื่อได้บัตร
หมายเลข 1 และ 2 ซึ่งผลรวมเท่ากับ 3
และผลรวมจะมีค่ามากที่สุดเมื่อได้บัตรหมายเลข 9 และ 10 ซึ่งผลรวมเท่ากับ 19
แสดงว่าแซมเปิลสเปซ S จะมีลักษณะดังนี้
S = {3, 4, 5, 6,…,17, 18, 19}
สมมติให้ A เป็นเหตุการณ์ที่ผลรวมของหมายเลขบนบัตรทั้ง 2 ใบเป็นจำนวนคู่
A = {4, 6, 8, 10, 12, 14, 16, 18}
ตัวอย่างที่ 4.7 ถุงใบหนึ่งมีลูกบอลสีขาว 3 ลูก สีแดง 2 ลูก หยิบลูกบอลออกจากถุง 2 ลูก จงหา
1.แซมเปิลสเปซของสีของลูกบอล และเหตุการณ์ที่จะได้ลูกบอลสีขาว
2.แซมเปิลสเปซของลูกบอลที่หยิบมาได้ และเหตุการณ์ที่จะได้ลูกบอลเป็นสีขาว 1 ลูก
สีแดง 1 ลูก
วิธีทำ 1.เนื่องจากเราสนใจเกี่ยวกับสีของลูกบอล และลูกบอลมีอยู่สองสีคือสีขาวและสีแดง
ดังนั้น แซมเปิลสเปซ S={ขาว, แดง}
สมมติให้ B เป็นเหตุการณ์ที่จะได้ลูกบอลสีขาว
ดังนั้น B = {ขาว}
2.เนื่องจากเราสนใจแซมเปิลสเปซของลูกบอลแต่ละลูกที่ถูกหยิบขึ้นมา
ดังนั้นแซมเปิลสเปซ S คือ
S={ข1ข2,ข1ข3,ข1ด1,ข1ด2,ข2ด3,ข2ด1,ข2ด2,ข3ด1,ข3ด2,ด1ด2}
ให้ C เป็นเหตุการณ์ที่ผลลัพธ์เป็นลูกบอลสีขาว 1 ลูก และ สีแดง 1 ลูก
ดังนั้น เหตุการณ์ C คือ
C = {ข1ด1,ข1ด2,ข2ด1,ข2ด2,ข3ด1,ข3ด2}
หมายเหตุ ข แทน ขาว และ ด แทน แดง
ข้อควรสนใจ 1. เนื่องจากแซมเปิลสเปซ S เป็นเซตของผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งหมด
จากการทดลองสุ่ม ดังนั้น ถ้าเปรียบเทียบกับเรื่องเซตแล้ว
แซมเปิลสเปซ S คือ เอกภพสัมพัทธ์ นั่นเอง
2. เนื่องจากเหตุการณ์เป็นสับเซตของแซมเปิลสเปซ S
ดังนั้น ถ้าเปรียบกับเรื่องเซตแล้ว เหตุการณ์ ก็คือ เซต A, B, C, ...
ซึ่งทุกเซตต่างก็เป็นสับเซตของเอกภพสัมพัทธ์นั้นเอง
3. เราสามารถใช้ความรู้เรื่องเซตมาช่วยในการพิจารณาเกี่ยวกับลักษณะของ
เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ดังนี้ ให้ E1 และ E2 เป็นเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์
E1U E2= หมายถึงเหตุการณ์ที่อยู่ใน E1หรือใน E2
E1 E2หมายถึง เหตุการณ์ที่ประกอบด้วยผลลัพธ์ที่อยู่ใน E1 และอยู่ใน E2
E1-E2หมายถึง เหตุการณ์ที่ประกอบด้วยผลลัพธ์ ที่อยู่ใน E1 แต่ไม่อยู่ใน E2
E1' หมายถึง เหตุการณ์ที่ผลลัพธ์อยู่ในแซมเปิลสเปซ S แต่ไม่อยู่ใน E1
ตัวอย่างที่ 4.3ในการทอดลูกเต๋า 1 ลูก ถ้าเราสนใจแต้ม ของลูกเต๋าที่หงายขึ้น
ผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้คือ ลูกเต๋าขึ้นแต้ม 1 หรือ 2 หรือ 3 หรือ 4 หรือ 5 หรือ 6
ดังนั้นแซมเปิลสเปซที่ได้คือS = {1, 2,3,4,5,6}

วันที่ 30 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2556

เศษส่วนน่ารู้



            เศษส่วน

             เศษส่วน คือ จำนวนที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อแทนปริมาณที่ไม่ใช่จำนวนเต็ม โดยใช้สัญลักษณ์เศษส่วน
     ที่เขียนในรูป เมื่อ a และ b เป็นจำนวนเต็มที่ b≠0
เรียก a ว่า  เศษ  เรียก b ว่า  ส่วน
ตัวเศษ หมายถึง จำนวนส่วนแบ่งที่ต้องการ
ตัวส่วน หมายถึง จำนวนส่วนแบ่งทั้งหมดที่เท่า ๆ กัน
              การแทนเศษส่วนด้วยจุดบนเส้นจำนวน
              เศษส่วนสามารถแสดงได้ด้วยจุดบนเส้นจำนวน โดยใน 1 หน่วย ความยาวบนเส้นจำนวน
      ให้แบ่งความยาวออกเป็นส่วนๆเท่าๆกันโดยพิจารณาจากตัวเลข "ส่วนของเศษส่วนที่กำหนดให้
       เช่น                                                
       ตัวส่วน  คือ 3 ให้แบ่งความยาว 1 หน่วย ออกเป็น 3 ส่วนเท่าๆกันดังรูป



             





                                       

http://www.math.rwb.ac.th/sopa1/index5.htm วันที่31 เดือนสิงหาคม 2556

ทฤษฎีบทปีทาโกรัส


ทฤษฎีบทปีทาโกรัส
                ถ้าสามเหลี่ยม  ABC  เป็นสามเหลี่ยมมุมฉาก  ซึ่งมี  AĈB  เป็นมุมฉาก  ให้  a , b และ c  เป็นความยาวของด้านตรงข้ามมุม  A , B และ C  ตามลำดับ     แล้วจะได้ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวทั้งสามของสามเหลี่ยมมุมฉาก  คือ

 
c2  =  a2  +  b2
ทฤษฎีบทปีทาโกรัสในอีกความหมายหนึ่ง

                ในรูปสามเหลี่ยมมุมฉากใดๆ  พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสบนด้านตรงข้ามมุมฉากเท่ากับผลบวกของพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสบนด้านประกอบมุมฉาก

บทกลับของทฤษฎีบทปีทาโกรัส

                ถ้า  a , b และ c  เป็นความยาวของด้านทั้งสามของสามเหลี่ยม ABC  และ  c2  =  a2 + b2   แล้วจะได้ว่าสามเหลี่ยม ABC นี้เป็นสามเหลี่ยมมุมฉาก  โดยมีด้านยาว  c  หน่วย  เป็นด้านตรงข้ามมุมฉาก

การเปรียบเทียบทฤษฎีบทปีทาโกรัส  กับบทกลับของทฤษฎีบทของปีทาโกรัส
ทฤษฎีบทของปีทาโกรัส

ข้อความที่เป็นเหตุ              คือ          ABC  เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก

                                                                c  แทนความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก

                                                                a  และ  b  แทนความยาวของด้านประกอบมุมฉาก

ข้อความที่เป็นผล                คือ           c2  =  a2 + b2

บทกลับของทฤษฎีบทของปีทาโกรัส

ข้อความที่เป็นเหตุ              คือ          ABC  เป็นรูปสามเหลี่ยม  มีด้านยาว a , b และ c หน่วย  และ  c2  =  a2 + b2

ข้อความที่เป็นผล                คือ           รูปสามเหลี่ยม ABC  เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก  และมีด้านที่ยาว  c  หน่วยเป็นด้านตรงข้ามมุมฉาก                                                                                                                                                                                                     

http://www.kr.ac.th/ebook/suvantee/b2.htm วันที่ 4 กันยายน 2556